การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

วัดบ่อแก้วนิมิต ตำบลไทรย้อย




วัดบ่อแก้วนิมิต ตำบลไทรย้อย
พระครูไพศาลรัตนกิจ เจ้าอาวาสวัดบ่อแก้ว ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ เจริญพรว่า วัดบ่อแก้วนิมิต อยู่ในท้องที่หมู่ 8 ต.ไทรย้อย ในท้องที่ อ.เด่นชัย มีเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดกับ ต.เด่นชัย ด้านทิศใต้ ติดกับ ต.ห้วยไร่ และจ.อุตรดิตถ์ ทิศตะวันตก ติดกับ อ.ลอง และ อ.วังชิ้น มีจำนวนหมู่บ้าน 3 หมู่ คือ หมู่ 4, 8 และ 10 อยู่ที่
ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย เป็นวัดที่กำลังเริ่มสร้างวัตถุสถาน และเป็นที่ประดิษฐานของพระหยกขาวบ่อแก้ว และพระพุทธโกศัย องค์จำลอง
ในปีนี้ 2562 นี้วัดบ่อแก้วนิมิต ไม่ได้รับกฐิน ทางกรรมการจึงได้ประชุม และได้มีมติว่า ปีนี้จะทำสลากภัตขึ้น เพื่อจะได้หารายได้จัดทำกำแพงวัด เพราะ ณ ตอนนี้ กำแพงทรุดจากน้ำจากลม แตกเสียหายมาก เพื่อจะได้หาทุน จึงจัดการต๋านสลากภัตขึ้น ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2562 เพื่อจะได้นำปัจจัยมาก่อสร้าง และกำลังหาเจ้าภาพร่วมในครั้งนี้ ตามจิตศรัทธา หรือจะทำบุญ 1 ล็อค 5,000 บาท จะใส่ชื่อติดกับกำแพงวัดด้วย และหาทุนจัดสร้างกำแพงจนแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ ทางวัดบ่อแก้วนิมิต จึงขอเชิญชวนพุทธศานิกชนได้ร่วมทำบุญตานสลากภัตกับวัดบ่อแก้วนิมิต ตามวันดังกล่าวได้

วัดไทรย้อย หมู่ 2 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่




วัดไทรย้อย
ผู้ให้ข้อมูล นางศรีนวล ก๊กไม้ ผู้ใหญ่บ้านไทรย้อย ม.2 ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ โทรศัพท์ 0871731417
เก้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัดไทรย้อย ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ เส้นทางแห่งศรัทธาครั้งนี้ขอนำท่านขึ้นเหนือถิ่นล้านนาไปยังวัดไทรย้อย ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ หรือที่รู้จักกันว่าคือวัดครูบาชัยมงคล ชยฺธมฺโม พระเกจิอาจารย์ผู้สืบสานศาสตร์โบราณล้านนาและสายวิชาปะฐะมะสิทธิ หากเดินทางโดยเส้นทางสายพิษณุโลก ผ่านอุตรดิตถ์ เมื่อถึงสามแยกเด่นชัยให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรถึงตำบลไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ ถิ่นกำเหนิดเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพฯ วัดไทรย้อยจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ เก้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัดไทรย้อย ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ ที่จะขอโอกาสแนะนำให้ท่านไปกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลและขอพรให้บังเกิดให้สัมฤทธิ์ผล ได้แก่
 1.หลวงพ่อพระพุทธองค์ดำ นาลันทา สร้างในครั้งฉลองพุทธชยันตี ปี พ.ศ.2555 โดยครูบาชัยมงคล ได้เดินทางไปสักการะหลวงพ่อพระพุทธองค์ดำ ที่นาลันทา อินเดีย และขออนุญาตสร้างขนาดเท่าองค์จริง โดยใช้หินอินเดีย แกะสลักโดยช่างชาวอินเดียที่ประเทศอินเดียแล้วส่งมาไทยทางเครื่องบิน น้ำหนักองค์ร่วม 3 ตัน ปัจจุบันประดิษฐานในวิหารหลวงพ่อพระพุทธองค์ดำ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้ศรัทธามาขอพรให้สุขภาพดี หายจากการเจ็บไข้และขอให้ธุรกิจการงานเจริญรุ่งเรืองอยู่เสมอ
2.พระเขี้ยวแก้วศิริชัยยะมุนี พระพุทธปฏิประธานในอุโบสถวัดไทรย้อย แกะสลักอย่างงดงามด้วยหินหยกขาว ผู้คนศรัทธามาขอพรให้บันดาลโชคลาภ วาสนา บารมี ดวงตาเห็นธรรม
3.พระบรมธาตุ เป็นพระบรมธาตุที่ได้รับจากคุณลุงทองดี หรรษคุณารมณ์ เป็นพระธาตุที่เสด็จมาโดยปาฏิหาริย์ทั้งหมด และยังเป็นพระบรมธาตุที่มีสัณฐานพิเศษนอกตำรามีขนาดใหญ่กว่าพระบรมธาตุทั่วไปที่สำคัญคือมีกลิ่นหอมของเทวดาหรือกลิ่นหอมอันเป็นทิพย์ ซึ่งคุณลุงทองดีอธิบายว่าเทวดาท่านมาสรงของทิพย์บูชาพระบรมธาตุ 4.รอยพระพุทธบาท จำลอง ศิลปอินเดีย แกะสลักจากหินแกรนิต ประดิษฐานบนยอดเขาวัดไทรย้อย พุทธศาสนิกชนกราบไหว้รำลึกถึงพุทธคุณแห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอพุทธานุภาพอำนวยอวยชัยให้อยู่เย็นเป็นสุข
5. พ่อครูโพมินข่อง ครูบาชัยมงคลได้ให้ช่างปั้นรูปเหมือนพ่อครูโพมินข่องให้เสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเป็นคติว่า สำเร็จทันใจเป็นคติที่สิบเนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปให้เสร็จภายในหนึ่งวัน จึงได้เรียกกันว่า หลวงพ่อทันใจหรือพระทันใจ แต่ครั้งนี้เป็นการสร้างพ่อครูโพมินข่องผู้ทรงอภิญญาให้เสร็จภายในหนึ่งวัน จากคตินี้ถือว่า เมื่อพ่อครูองค์นี้สำเร็จขึ้นมาจะมีอำนาจในการบันดาลโชคลาภให้ทันใจแก่ผู้มาสักการะบูชาได้อย่างน่าอัศจรรย์ 6.บรมครูปู่หมอชีวกโกมารภัจน์ แกะสลักจากหินเขียวอินเดีย ขนาดหน้าตัก 30 นิ้ว ผู้ศรัทธามาบูชากราบไหว้ขอพรเพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง หายเจ็บหายจน ด้านหน้าจะมีอ่างน้ำมนต์ที่ครูบาชัยมงคล อัญเชิญบารมีบรมครูปู่หมอชีวกฯ ทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ไว้
7.เทพทันใจ หรือมหานัทโปตะอ่องโป๊ะโป๊ะจี คำจำกัดความง่าย ๆ ที่คนไทยชอบ บนได้ไหว้รับ ทันอกทันใจ8.พระชัยหลังช้าง พิเศษคือช้างนี้เป็นช้างเอราวัณ หรือช้างสามเศียร ผู้บูชาอธิษฐานขอชัยชนะ พิชิตมาร 9.รูปเหมือนหลวงปู่ครูบาเจ้าแสนใจ(แสนชัย) ตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์ผู้ทรงอภิญญาบารมีที่ดำรงค์ขันธ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ผ่านสมัยอยุธยา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ครูบาชัยมงคล นับถือท่านเป็นครูบาอาจารย์อาวุโล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่วัดไทรย้อย ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ โทร 054-661063 / 098 758 4067 / 094 930 9355

ผ้ามัดย้อมสีใบสัก บ้านแม่พวก ตำบลห้วยไร่




ผ้ามัดย้อมสีใบสัก จ.แพร่
บ้านแม่พวก อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีผลิตภัณฑ์ผ้าที่โดดเด่น เพราะชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาผลิตผ้ามัดย้อม โดยใช้สีใบสักจากต้นที่มีอายุกว่า 100 ปี ได้เฉดสีที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละฤดูกาล
บ้านแม่พวก หมู่ที่5 ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีสถานีรถไฟประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีสวนต้นสักปลูกแห่งแรกของประเทศ อายุ 109 ปี ให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว และนำใบสักมาใช้เป็นสีย้อมผ้า สร้างผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของหมู่บ้าน
กลุ่มผู้หญิงในหมู่บ้านได้รวมตัวกัน เรียนรู้วิธีการมัดลายและย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติจากใบสักสดนำมาต้มจนได้ที่ สามารถผลิตเป็นผ้ามัดย้อมคุณภาพดี ซึ่งใบสักในแต่ละฤดู จะให้เฉดสีที่แตกต่างกันไป ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์มัดย้อมที่ไม่ซ้ำแบบกันทั้งสีและลวดลาย
ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากใบสักมีหลายอย่าง ทั้งกระเป๋าใบเล็กใบใหญ่ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ปัจจุบันได้พัฒนา ผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของต้นไม้ใบไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีในท้องถิ่น อย่างสีเหลืองจากเปลือกลิ้นฟ้า สีเขียวหม่นจากใบหูกวาง เปลือกแก่นฝางให้สีชมพูอมม่วง เปลือกประดู่ได้น้ำตาลอ่อน ทำให้ได้ผ้ามัดย้อมที่มีสีสันหลากหลาย พร้อมจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมสวนสักและสถานีรถไฟโบราณของหมู่บ้านแห่งนี้ตลอดทั้งปี

บ้านหนังสือชุมชนบ้านสวนหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลปงป่าหวาย กศน.อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่






บ้านหนังสือชุมชนบ้านสวนหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลปงป่าหวาย กศน.อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ชื่อเจ้าของบ้าน นางสาวประคอง  นามสกุล  แก้วอุต   อายุ 55 ปี

                  ความเป็นมาของการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของบ้านหนังสือชุมชน เป็นที่อยู่อาศัย แรกเริ่มมีพี่น้องพักอาศัย ต่อมาไปทำงานต่างจังหวัด นางสาวประคอง แก้วอุต ซึ่งประกอบอาชีพเป็นครู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลปงป่าหวาย เร่งเห็นความสำคัญของการศึกษาประกอบกับนิสัยส่วนตัวเป็นคนชอบทำประโยชน์ให้กับสังคม และให้ความอนุเคราะห์ที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ในการสนับสนุนการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของบ้านหนังสือชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559  จนถึงปัจจุบัน
                 นางสาวประคอง แก้วอุต ผู้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมบ้านหนังสือชุมชน ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “บ้านหนังสือชุมชนดีเด่น” ตามโครงการรัก การอ่าน เสริมการเรียนรู้ สู่วิถีชุมชน THAILAND 4.0 “ชุมชน ตลาดนัด ชวนอ่าน” วันที่ 26 เมษายน 2561 ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเด่นชัย และยังให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมภายในท้องถิ่น



ห้องศิลป์นิรันดร ตำบลปงป่าหวาย





ผู้ก่อตั้ง : นายนิรันดร์  ปัญญามูล
เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านทัศน์ศิลป์สำหรับเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไปหลายสาขาอาชีพที่ต้องการเรียนรู้ด้านงานศิลปะ หรือต้องการเพิ่มพูนความรู้ เพื่อใช้ในการเสริมอาชีพที่ทำอยู่ และนำไปสร้างรายได้เสริม อีกทั้งหอศิลป์นิรันดรแห่งนี้ยังมีกิจกรรมฝึกสอนวาดภาพและระบายสีให้แก่ผู้ที่สนใจโดยไม่เสียค่างใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น มีลูกศิษย์กว่า 300 คน ที่เข้ามาเรียนรู้และฝึกฝนฝีมือในงานศิลปะ ห้องศิลป์นิรันดรก่อตั้งในปี พ.ศ.2550 ตั้งอยู่ในเลขที่บ้าน 99 หมู่ที่ 6 ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีแหล่งแสดงและเรียนรู้ศิลปะ 3 โซน นั่นก็คือ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย (ด้านจิตรกรรม) เป็นสถานที่รวบรวมผลงานภาพจิตกรรมต่างๆ ของอาจารย์นิรันดร์ ปัญญามูล ที่จัดแสดงไว้ ไม่ว่าจะเป็น ใต้ร่มพระบารมีด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 80x100 เซนติเมตร ภาพพระนางเจ้าสิริกิจพระบรม ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 วาดเมื่อ ปี 2550นอกจากนี้ยังมีภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนชนบทภาคเหนือของไทยในอดีตที่สร้างชื่อเสียงให้กับอาจารย์นิรันดร์ ปัญญามูล จัดแสดงไว้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิตชนบทล้านนาด้วยเทคนิดสีอะคริลิคบนผ้าใบ และยังมีภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิตชนบทล้านนา 1ภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิตชนบทล้านนา 2ภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิตชนบทล้านนา 3ภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิตชนบทล้านนา 4และภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิตชนบทล้านนา ประเพณีปี๋ใหม่เมืองเป็นต้น

โซนที่ 2 เป็นศิลปะที่จัดแสดงอยู่ทางด้านชั้น 2 ของตัวบ้านอาจารย์นิรันดร์ ปัญญามูล ในโซนนี้จะเป็นสถานที่จัดแสดงผลงานของศิลปินต่างประเทศที่อาจารย์ได้รวบรวมสะสมไว้กว่า 20 ปี มาจัดแสดงอยู่ในโซนนี้ อีกทั้งยังมีโล่รางวัล เกียรติบัตรเชิดชูผลงานของอาจารย์มาจัดแสดงไว้อีกด้วย

โซนสุดท้าย โซนที่ 3 เป็นสถานที่ที่อาจารย์นิรันดร์ ปัญญามูล และลูกศิษย์สร้างผลงานศิลปะ ทั้งในการวาดภาพ ลงสี และยังเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติจริงให้แก่ลูกศิษย์หรือผู้ที่สนใจในงานศิลปะ เข้ามาเรียนรู้และลงมือทำงานศิลปะ มีลูกศิษย์ที่เข้ามาเรียนรู้แล้วกว่า 300 คน โดยอาจารย์นิรันดร์ ปัญญามูล เป็นคนลงมือสอนด้วยตัวเอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งยังสามารถนำผลงานศิลปะที่ตนเองทำ นำกลับไปได้อีกด้วย

วัดพระพุทธมงคล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

วัดพระพุทธมงคล


ประวัติวัดพระพุทธมงคล

"พระพุทธมงคล" หรือ "พระเจ้าตนหลวง" เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ที่พี่น้องชาวเมืองแพร่ให้ความเลื่อมใสศรัทธากันดี ประดิษฐานอยู่ที่วัดร้างหรือวัดตอหมากหลวงนิมิต หมู่ที่ 8 บ้านตอนิมิต ต.ร่องกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่
ตำนานกล่าวถึงพระพุทธมงคลว่า สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.1200 โดยพระโสณเถระ พระอุตรเถระ และพระรัตนเถระ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้บนยอดพระเมาลีตอนกลาง
จากตำนานที่เล่าสืบกันมาว่า มีต้นหมากหลวงขนาดใหญ่ต้นหนึ่ง อยู่ใกล้ปากถ้ำ หน้าวัดพุทธมงคลหรือหน้าวัดพระเจ้าตนหลวง หน้าวัดร้างในปัจจุบัน อาจเป็นพันธุ์หมากหลวงเดียวกันกับต้นหมากหลวงในตำนานวัดพระธาตุช่อแฮ
เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมา ต้นหมากหลวงนั้นได้ตายลง เหลือแต่ตอแห้งแข็ง ไม่ผุกร่อน เหมือนต้นหมากทั่วไป ในเวลาค่ำคืนก็ปรากฏเป็นลูกแสงไฟพวยพุ่งออกมาจากตอของต้นหมากหลวงนั้น เป็นแสงไฟที่มีความสวยงามมาก ชาวบ้านในหมู่ละแวกนั้น ต่างร่ำลือโจษจันกันว่าเป็นตอนิมิต และเป็นที่มาของหมู่บ้านว่า "บ้านตอนิมิต"


มัลเบอร์รี่ฟาร์ม ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย



นางสาวจารุวรรณ เอกบัว” สาวเมืองดอกคูนขอนแก่น วัย 38 ปี ผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในรูปแบบ “ฟาร์มสเตย์”รู้จักกันในนามฟาร์มหม่อน มัลเบอร์รี่ ฟาร์ม (Mulberry Farm)

เริ่มต้นของการทำฟาร์มหม่อนแห่งนี้ว่า ก่อนหน้านี้ก็ทำงานเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ไต่เต้าจากพนักงานห้างค้าปลีกข้ามชาติจนกลายเป็นผู้จัดการเขต และเลือกจังหวัดแพร่ในการลงหลักปักฐาน ด้วยความที่เป็นผู้จัดการแผนกอาหารสดทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร ปลูกพืชผัก ผลไม้โดยไม่ใช้สารเคมีใด ๆ

นั่นคือจุดเปลี่ยนชีวิตเมื่อราว 3 ปีก่อน ที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำหันมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว พร้อมดำรงชีวิตแบบพอเพียงบนดอยบ้านน้ำพร้าว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เมืองเล็ก ๆ ของภาคเหนือ
“เรามีประสบการณ์จากการเป็นพนักงานจนถึงผู้จัดการ ทำให้เห็นวงจรและกระบวนการทำงานต่าง ๆ จึงมีแนวคิดว่า อยากปลูกพืชผัก ทำเกษตรพอเพียง และปลูกพืชตระกูลเบอร์รี่ ที่สามารถปลูกขึ้นได้ดีในเมืองไทยโดยไม่ใช้สารเคมี สุดท้ายก็มาลงตัวที่หม่อน เพราะถิ่นกำเนิดเป็นคนอีสานได้สัมผัสการเลี้ยงไหม ปลูกต้นหม่อน มีความรู้และผูกพันกับหม่อนมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว”
เธอยังบอกด้วยว่า หลังออกจากงานก็ได้ไปขอกิ่งพันธุ์จากกรมหม่อนไหม ที่อำเภอเด่นชัยมาปลูก โดยได้รับการสนับสนุนต้นหม่อนมาจำนวน 200 ต้น เริ่มลงมือปลูก บนพื้นที่ 8 ไร่ รวมทั้งหมด 300 ต้น ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ และต้นหม่อนจะโตเต็มที่ในระยะเวลา 1 ปี ให้ผลผลิตในปีแรก ประมาณ 500 กิโลกรัม จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 100 บาท

ปัจจุบันสามารถเก็บผลผลิตได้เต็มที่ปีละกว่า 1,000 กิโลกรัม โดยให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงหน้าฝนเดือนมิถุนายน และช่วงหน้าร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเมษายน หม่อนเป็นพืชที่อยู่ได้ทุกสภาวะ ยกเว้นน้ำท่วมขังจะทำให้รากเน่า และไม่ให้ผลผลิต“ผลผลิตหม่อนในปีแรกได้นำออกไปขายที่ตลาดเอง สามารถขายหมดเพียงไม่กี่วัน ปัจจุบันหม่อน 300 ต้นที่ปลูกไว้ก็ให้ผลผลิต และมีรายได้เข้ามาทุกวัน”
ขณะเดียวกันยังต่อยอดพัฒนาไปเป็น “ฟาร์มสเตย์” รองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติสามารถเข้าพักในกระท่อมภายในไร่ได้ และมีกิจกรรมร่วมกันภายในฟาร์มด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำสวนผักเก็บลูกหม่อน การแปรรูป และการทำขนมปัง เป็นต้น
กิจกรรมเหล่านี้กำลังได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติที่อยากเรียนรู้วิถีชีวิตไทย ๆ การทำเกษตร และสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยมีนักท่องเที่ยวแบบครอบครัวจากประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ จองเข้ามาพักนานนับเดือน

บ้านไทรย้อย หมู่บ้านชีววิถี อยู่ดีมีสุข




บ้านไทรย้อยหมู่ 12 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เดิมมีอาชีพขายกลอย ขายไม้กวาด ตลอดสองข้างทางสายเด่นชัย-ลำปาง ปัจจุบันได้หันมาน้อมนำเอาโครงการพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปรับใช้ในหมู่บ้าน โดยมีนางไพรวรรณ คำเหลือง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 12 ตำบลไทรย้อย ได้ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านทุกครัวเรือน จำนวน 127 ครัวเรือน จัดทำโครงการ ชีววิถี อยู่ดีมีสุข โดยได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
บ้านไทรย้อย หมู่ 12 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ดำเนินโครงการ ชีววิถี อยู่ดีมีสุข เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกครัวเรือนพร้อมใจ ดำเนินการเกษตรปลอดภัย ปลอดสารพิษ สร้างรั้วกินได้ และจัดทำโครงการตู้เย็นหลังบ้านแบบครบวงจร ซึ่งขณะนี้มีจำนวน 35 ครัวเรือน ที่มีตู้เย็นหลังบ้านพร้อมเปิดให้เก็บผลผลิตมาขาย มากินได้ ที่เรียกว่าตู้เย็นหลังบ้านเพราะภายในบริเวณหลังบ้าน จะมีการปลูกพืชผักสวนครัวที่หลากหลาย มีกบ มีปลา มีไก่ มีไข่ ที่พร้อมสำหรับนำมาประกอบอาหาร เสมือนหนึ่งเป็นตู้เย็นในบ้าน
นอกจากนี้ ในหมู่บ้านยังจัดทำธนาคารน้ำหมักชีวภาพ หรือธนาคาร EM ไว้ประจำซุ้มในหมู่บ้านทั้ง 8 ซุ้ม มีการนำเศษผักมาทำน้ำหมักจำหน่าย แจก โดยคนในหมู่บ้านสามารถนำขวดพลาสติกเปล่า 3 ขวดมาแลกน้ำหมัก 1 ขวด บ้านไทรย้อย หมู่ 12 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านเกษตรแบบพอเพียง เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร จึงมีเกษตรกรจากจังหวัดต่างๆ มาเยี่ยมชมโครงการตลอดทั้งปี นับว่าเป็นความสำเร็จในการทำเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ ที่เป็นแบบอย่างได้อีกหมู่บ้านหนึ่ง

ครูอาสาสมัครโซนตะวันตก การสานตะกร้าพลาสติก

การสานตะกร้าพลาสติก

อุปกรณ์

1. เส้นพลาสติก 5 ขีด
2. กรรไกร
3. หูถือกระเป๋า



ครูอาสาสมัครโซนตะวันตก การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

วิธีการทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า
การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้านั้นจำเป็นต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมดังนี้ ได้แก่ขี้เลื่อยยางพาราหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน แต่ในทางปฏิบัตินั้นขี้เลื่อยยางพาราจะให้ผลดีที่สุด จากนั้นก็หาส่วนผสมต่างๆเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น
สูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลัก ๆดังนี้
ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม
ปูนยิบซัม 1 กิโลกรัม
หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
น้ำ 80 กิโลกรัม
EM 1 ลิตร
เมื่อหาส่วนผสมมาครบแล้ว ก็ทำการตากและกองขี้เลื่อยยางพาราไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นค่อยทำการผสมโดยการเติมน้ำลงประมาณ 70 เปอร์เซนต์ ทดสอบโดยการกำส่วนผสมถ้ามีน้ำซึมตามง่ามมือแสดงว่าการผสมนี้ผสมน้ำมากเกินไปแต่ถ้าเมื่อบีบแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อนแสดงว่าการผสมใช้ได้เรียกว่าพอดีแล้วแต่ถ้าว่าถ้ากำแล้วแบมือออกแล้วขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อนแสดงว่าเติมน้ำน้อยจนเกินไป เมื่อผสมเข้ากันได้ที่แล้วก็ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ด ใส่ให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 – 900 กรัม หลังจากนั้นก็ทำการรวบปากถุงกระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณหลังจากนั้นก็ทำการใส่คอขวด


ครูอาสาสมัครโซนตะวันตก ยำหน่อไม้

ยำหน่อไม้

ส่วนผสม

  1. หน่อไม้ไร่ต้มจืดแล้ว ½ กก
  2. พริกสด 15 เม็ด
  3. กระเทียมย่างหรือคั่ว 2 หัว
  4. หอมแดงย่างหรือคั่ว 10 หัว
  5. ใบขิงซอย 6 ใบ
  6. น้ำปู๋ 1 ช้อนแกง
  7. เกลือเล็กน้อย
  8. น้ำปลาเล็กน้อย
  9. ผักชีและต้นหอมซอย อ่านเพิ่มเติม





ครูอาสาสมัครโซนตะวันตก ส้างวม

ส้างวม

ส้างวม
เป็นอาหารประเภทปรุงโดยการส้า ใช้งวมฝักอ่อนล้างสะอาดซอยหั่นเป็นฝอย ผักกาดขาวล้างสะอาดซอยเป็นฝอย ใส่ปลาทูหรือปลาสดก็ได้ ต้มให้สุกแกะเอาแต่เนื้อโขลกรวมกับน้ำพริก มีเครื่องปรุง คือ พริกแห้งผิงพอหอม ข่า กระเทียม เกลือ ต้มน้ำปลาร้า ไข่ต้มสุก หอมซอย นำงวม น้ำพริก น้ำปลาร้าผสมให้เข้ากัน ใส่ไข่ต้ม ต้นหอมผักชี คนให้เข้ากัน อนึ่งส้างวมนี้เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันในชีวิตประจำวันของชาวจังหวัดแพร่เท่านั้น


ครูอาสาสมัครโซนเหนือ แกงแค

แกงแค

แกงแค เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค

ครูอาสาสมัครโซนเหนือ น้ำพริกแมงมัน

น้ำพริกแมงมัน

น้ำพริกแมงมัน
เครื่องปรุง /ส่วนผสม
๑. พริกแห้งผิงไฟ ๗ - ๑๐ เม็ด
หัวหอม ๒ หัว กระเทียม ๑ หัว
กะปิปิ้งไฟให้สุก ๑ ช้อนชา
๒. แมงมันคั่วเด็ดปีกออกให้หมด

ครูอาสาสมัครโซนเหนือ แกงหยวก

แกงหยวก

แกงหยวก” กล้วย มีความผูกพันในวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างช้านาน คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากกล้วยได้อย่างมากมาย รวมทั้งนำมาบริโภค ซึ่งนอกจากการกินผลกันแล้ว ทางภาคเหนือยังเอาหยวกกล้วย หรือลำต้นของต้นกล้วยที่ยังไม่โตมากนัก นำแก่นกลางต้นที่ยังอ่อน ๆ มาทำประกอบอาหาร ประเภท แกง เรียกว่า “แกงหยวก” โดยส่วนใหญ่จะแกงกับไก่ ใส่วุ้นเส้น บางทีก็จะใส่เนื้อปลาย่างด้วย นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่าง ๆ ถ้าทำเป็นหม้อใหญ่ๆ จะไม่ใส่วุ้นเส้น เพราะเส้นจะอืดง่าย

ครูอาสาสมัครโซนเหนือ ตำกุ้ง

ตำกุ้ง

วัตถุดิบ
1. กุ้งฝอย 1 ถ้วย
2. กระเทียม 2 หัวเล็ก
3. หอมแดง 1 หัวใหญ่
4. ข่า 3 แว่น
5. มะขามเปรี้ยว พอประมาณ
6. พริกแห้ง 3 เม็ด (ใช้พริกป่น แทนได้ 1 ช้อนโต๊ะ)

ครูอาสาสมัครโซนเหนือ ยำไก่ใส่หัวปลี

ยำไก่ใส่หัวปลี

ตถุดิบ
1. หัวปลี 3 หัว 2. ไก่ 1 ตัว
3. ข่า 5 แว่น 4. กระเทียม 2 หัว
5. หอมแดง 3 หัว 6. มะแข่น 1 ช้อนโต๊ะ
7. พริกขี้หนูแห้ง 5 เม็ด 8.น้ำปลาร้า
9. ผักชีฝรั่ง,ต้นหอม, ผักชี, ใบกระพรา, ผักไผ่ พอประมาณ สำหรับโรยหน้ายำ
10. ตะไคร้ 2 ต้น 11. ขมิ้น นิดหน่อยกะพอประมาณ

ครูอาสาสมัครโซนเหนือ น้ำพริกอี่เก๋

น้ำพริกอี่เก๋




ส่วนผสม
  • มะเขือขื่น 5 ลูก
  • พริกจินดาสีแดง 10 เม็ด
  • กระเทียม 10 กลีบ
  • หอมเล็ก 2 หัว
  • ขิงอ่อน 2 แว่น
  • ปลาร้าสับอย่างดีห่อใบตองย่างจนหอม 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผักชี
  • อ่านเพิ่มเติม