TKP HEADLINE

น้ำพริกลาบเมืองแพร่


สูตรของแพร่จะมีเครื่องปรุงชนิดพิเศษที่ไม่เหมือนใคร คือในน้ำพริกลาบจะมีสมุนไพรพิเศษอีกอันหนึ่งที่เรียกว่า มะแขว่น เม็ดเล็กสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุพระพิมพ์


วัดบางสนุก เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กว่า ๖๐๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๔๒ เดิมชื่อวัดปากสลอบ ต่อมาเป็นวัดปากสลก เพราะตั้งอยู่ปากห้วยสลก ไหลออกสู่แม่น้ำยม ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดปงสนุก
อ่านเพิ่มเติม

เกษตรนวัตวิถี


โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ถูกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง


จุดเริ่มต้นที่จุดประกายความคิดให้แก่เกษตรกรผู้นี้คือ การได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำหลักการมาประยุกต์ ปรับพื้นที่การเกษตรของตนเองคล้ายๆ กับที่ศูนย์การศึกษาฯ
อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุพระกัปป์


ไม่พบหลักฐานที่เป็นตำนานของพระธาตุที่ชัดเจน พบเพียงจารึก บนแผ่นไม้สักเป็นภาษาล้านนาไทยมีข้อความว่า
อ่านเพิ่มเติม

วัดพระธาตุดอยก๊อ


ก่อนที่จะมีการสร้างพระธาตุดอยก๊อองค์นี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำยมฝั่งตะวันตก คือบ้านนาเวียง ม.7 เล่าว่ามีภูเขาลูกหนึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม
อ่านเพิ่มเติม

ตรอกสลอบ


พระธาตุพระพิมพ์ วัดบางสนุก ต.วังชิ้น อ.วังชิ้น จ.แพร่ ที่ตำนานเล่าว่าเจ้าพายสลอบสร้างขึ้นเพื่อไถ่บาปและอุทิศถวายแก่ดวง นายสลอบได้ไปเป็นทหารแห่งกรุงสุโขทัย ทิ้งมารดาไว้ผู้เดียวเป็นเวลานาน
อ่านเพิ่มเติม

อ่างเก็บน้ำบ้านแม่สิน


ปี 2542 หรือเมื่อ 12 ปีก่อน มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบ 6 ครบ 72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542 การจัดงานในวโรกาสสำคัญครั้งนั้นหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม

ถักไม้กวาดดอกหญ้า


การถักไม้กวาดดอกหญ้า  ชาวบ้านในตำบลนาพูนจะทำสืบต่อกันมา ซึ่งไม้กวาดดอกหญ้านี้ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดที่จำเป็นมากในทุกครัวเรือน โดยมักพบใช้มากกว่า 1 ด้าม ในแต่ละครัวเรือน ทั้งนี้ ไม้กวาดดอกหญ้าจะทำได้จากช่อดอกหญ้าตองกง
อ่านเพิ่มเติม

ประเพณีแห่น้ำช้าง


ประเพณีแห่น้ำช้างปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาประมาณร้อยกว่าปี ที่ตั้งของหมู่บ้านแห่งนี้โดยธรรมชาติอุดมไปด้วยป่าไม้อันมีค่าได้แก่ ไม้สักทอง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า เป็นต้น อาชีพหลักของหมู่บ้านคือการทำไม้ ช้างจึงเป็นพาหนะที่สำคัญในการชักลากไม้จึงมีการคล้องช้างป่ามาเพื่อใช้งาน
อ่านเพิ่มเติม

ลานวัฒนธรรมบ้านอาข่า


ชาวอาข่าบ้านเปาปม-ดงยาง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ร่วมใจสืบสานอนุรักษ์สืบทอดทอดวิถีชีวิตชนเผ่าอาข่า "ปีใหม่อาข่า" ประจำปี 2562 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของชุมชนชาวอาข่า เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและวิถีชีวิตชาวอาข่าบ้านเปาปม-ดงยาง
อ่านเพิ่มเติม

โรงไฟฟ้าชีวมวล


ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ชาวแพร่ กว่า 300 คน ได้รวมตัวกันที่บริเวณวิหารของวัด เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล พื้นที่ตำบลเปาปมดงยาง หมู่ที่ 7 ตำบลนาพูน มีชาวบ้านมาร่วมลงชื่อในการทำประชาพิจารณ์ จำนวน 244 คน
อ่านเพิ่มเติม

ลุงมนู กาญจนะ


ลุงมนู กาญจนะ อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 141/1 หมู่ที่ 11 ตำบลนาพูน โทรศัพท์ (086) 183-9626 ผมเคยพบและได้ยินชื่อเสียงของลุงมนูมาก่อนแล้ว จากการไปฟังท่านบรรยาย เล่าประสบการณ์ต่างๆ หรือเห็นรูปภาพจากการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการเกษตร
อ่านเพิ่มเติม

วัดชัยสิทธิ์


หากเอ่ยชื่อพระธาตุคงมีแต่ผู้คนสงสัย ว่าขวยปูหมายถึงอะไร และน่าสนใจอย่างไรถึงได้นำมาเล่าขานให้ได้อ่านกัน คำว่า “ขวยปู”หรือ ขุยปู นั้นหมายถึง “รูปู” เป็นพระธาตุที่มีอายุเก่าแก่เมื่อเทียบกับองค์พระธาตุที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพของชาวล้านนา หลายแห่ง
อ่านเพิ่มเติม

หมู่บ้านนวัตวิถีบ้านแม่จอก


หมู่บ้านนวัตวิถีบ้านเเม่จอกนอก  ตั้งอยู่  หมู่ 8  ตำบลเเม่ป้าก  อำเภอวังชิ้น  จังหวัดเเพร่ ซึ่งบ้านเเม่จอกนอก ตั้งอยู่บนพื้นที่ หมู่บ้านเล็กๆที่แวดล้อมไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่ มีบ้านเรือนเรียงรายเข้าไปในพื้นที่ราบเชิงเขา มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
อ่านเพิ่มเติม

ไข่เค็มน้ำเเร่ บ้านเเม่จอก


ไข่เค็มน้ำเเร่บ้านเเม่จอก  ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลเเม่ป้าก  อำเภอวังชิ้น  จังหวัดเเพร่  เป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับชาวชุมชนตำบลเเม่ป้าก  โดยชาวบ้านในชุมชนจะทำผลิตภัณฑ์เเปรรูป ถนอมอาหารจากไข่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน
อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกแม่เกิ๋ง


อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ สิ่งดึงดูดใจน้ำตกแม่เกิ๋งซึ่งเป็นที่รู้จักและสนใจของนักท่องเที่ยว
อ่านเพิ่มเติม

ไข่เค็มสมุนไพรยาอุเน๊ะ


บ้านดงยางอาข่าเป็นชุมชนเล็กๆ มีจำนวน 39 หลังคาเรือน ประชาชนประกอบอาชีพการทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเขียวและตัดไม้ไผ่ขาย ชุมชนอาข่ามีกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชนเผ่า คือ ประเพณีชนไข่แดง (ปีใหม่ไข่แดง)
อ่านเพิ่มเติม

ไก่อุ๊ก


ไก่อุ๊ก หรือไก่ฮุ่ม เป็นอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการอุ๊ก หรือฮุ่ม คือการทำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ค่อนข้างเหนียว เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ หรือเนื้อเค็มตากแห้ง (ที่เรียกว่า จิ๊นแห้ง) หากใช้เนื้อไก่ จะเรียกว่า อุ๊กไก่ หากใช้เนื้อวัว หรือเนื้อเค็มตากแห้ง จะเรียกว่า จิ๊นฮุ่ม
อ่านเพิ่มเติม

น้ำพริกถั่วเน่า


เป็นเครื่องปรุงอาหารชนิดหนึ่งของชาวล้านนา ทำโดยการนำถั่วเหลืองมาต้มเปื่อยหมักไว้ประมาณ 3 วัน ให้ขึ้นราเล็กน้อย นำมาโขลกให้ละเอียด เช่นเดียวกับถั่วเน่าเมอะ แต่ถั่วเน่าแข็บ เป็นการนำเอาถั่วเหลืองต้มเปื่อยโขลก มาทำเป็นแผ่นกลม ๆ
อ่านเพิ่มเติม

ศศช.บ้านแม่สูงเหนือ


ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ ได้อนุมัติให้จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 เป็นสถานศึกษาในระบบราชการ
อ่านเพิ่มเติม

การรำนก รำโต


การรำนก หรือ กิ่งกะหร่า เป็นการแสดงโดย ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกกินนร  ถ้าเป็นผู้หญิงเรียกกินรี ผู้แสดงการฟ้อนนก หรือกิ่งกะหร่าจะแต่งกายเลียนแบบนกยูงกรีดกรายร่ายรำตามที่จินตนาการขึ้น และเป็นท่ารำส่วยงามที่มีเอกลักษณ์
อ่านเพิ่มเติม

ปลูกมะละกอ


มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ เป็นพันธุ์มะละกอที่นำมาจากประเทศฮอลแลนด์ เมื่อปี 2543 มีชื่ออื่นๆ ได้แก่ เรดมาราดอร์ ปลักไม้ลาย และเซซากิ แต่เกษตรกรไทยนิยมเรียกว่า มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากโดยเฉพาะผลสุก เนื่องจากมีเนื้อสีแดงอมส้ม เนื้อหนา รสหวาน
อ่านเพิ่มเติม

การปลูกข้าวโพด


 ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ค่อนข้างทนทานปลูกง่ายในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ถ้ามีน้ำเพียงพอจะสามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปี การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากน้ำฝนธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ดังนั้นฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับจำนวนน้ำฝน
อ่านเพิ่มเติม

ปลูกส้มเขียวหวาน


ส้มเขียวหวานสามารถปลูกได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินเหนียวที่ปรับปรุงสภาพให้เหมาะสมโดยมีการยกร่อง และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ในกรณีที่ปลูกส้มเขียวหวานในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
อ่านเพิ่มเติม

งานประเพณีปีใหม่กะเหรี่ยง


พิธีปีใหม่ชนเผ่ากะเหรี่ยงประมาณปลายเดือนมิถุนายน และต้นเดือนกรกฏาคม ( เดือนสิบเหนือ และเดือนแปดใต้) ข้างขึ้นตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำ ถึง 5 ค่ำ ครั้งที่ 2 กำหนดเดือน 5 เหนือ ประมาณปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ข้างขึ้น 1 - 5 ค่ำ
อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุขวยปู


หากเอ่ยชื่อพระธาตุคงมีแต่ผู้คนสงสัย ว่าขวยปูหมายถึงอะไร และน่าสนใจอย่างไรถึงได้นำมาเล่าขานให้ได้อ่านกัน คำว่า “ขวยปู”หรือ ขุยปู นั้นหมายถึง “รูปู”
อ่านเพิ่มเติม

ทำนา


ระบบการทำไร่ของชาวกะเหรี่ยง เป็นระบบการทำไร่ลักษณะหมุนเวียน โดยมีการหมุนเวียนใช้เวลาประมาณ 7- 10 ปีเพื่อ ทำให้ระบบนิเวศที่ถูกทำลายไปเหล่านั้น มีการฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมมีการปลูกพืช หลายชนิดในไร่
อ่านเพิ่มเติม

ทอผ้า


การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยง เป็นการทอด้วยเครื่องทอขนาดเล็ก โดยใช้เข็มขัดคาดหลัง (เข็มขัดหรือสายคาดหลังอาจทำด้วยผ้า แผ่นหนัง หรือเชือกที่มีความแข็งแรง
อ่านเพิ่มเติม

ผลิตภัณฑ์จักสานเถาวัลย์


ชาวอำเภอวังชิ้นส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวาน เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศ เหมาะสมในการปลูกเป็นอย่างมาก และเถาวัลย์จัดเป็นวัชพืชที่เกษตรกรชาวสวนส้มจะต้องคอยกำจัดอยู่เสมอ
อ่านเพิ่มเติม

บ่อน้ำพุร้อนแม่จอก


บ่อน้ำร้อนแม่จอก อยู่ในโรงเรียนแม่จอกอยู่ขวามือ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนจะมีบ่อน้ำแร่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในเนื้อที่กว้างประมาณ 10 ไร่
อ่านเพิ่มเติม

เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร


หมื่นด้งนคร  แม่ทัพใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์พระองค์ที่ 9 ของ เชียงใหม่ ได้รับโปรดเกล้าให้ครองเมืองสำคัญหลายเมือง เช่น เมืองละกอน เมืองเชลียง และ เมืองเชียงชื่น หมื่นด้งนคร เจ้าชายผู้อาภัพ ในคราบชาวป่าชาวดอย  เจ้าชายผู้ซื่อสัตย์ต่อราชบัลลังค์ แม้ต้องถวายด้วยชีวิต ก็ยอม
อ่านเพิ่มเติม

ม่อนเสาหิน


“ม่อนหินกอง” (ม่อนเสาหินพิศวง) ในบริเวณนี้เมื่อประมาณ 5 – 6 ล้านปีมาแล้ว เกิดการประทุของภูเขาไฟ พาเอาหินหนืดจากใต้เปลือกโลกไหลประทุขึ้นมาเป็นลาวา (lava) ของหินบะซอลด์ ปกคลุมพื้นผิวบริเวณนี้แล้วเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว
อ่านเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย


“เวียงโกศัย” มาจากชื่อที่ใช้เรียกจังหวัดแพร่ในอดีต อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทิวทัศน์และน้ำตกสวยงามหลายแห่ง
อ่านเพิ่มเติม

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุแตงเขียว


พระธาตุแตงเขียว โดยประมาณปีพุทธศักราช 2466 - 2467 มีแม่หม้าชื่อว่านางจันทร์ คนบ้านร่องถ่านได้นำแตงไทยมาถวายหลวงพ่ออุตตะมา (เดิมชื่อกุย เป็นบุตรของพ่อหนานยะ นันทวงศ์ แม่ฟุ่น คนบ้านร่องถ่าน อุปสมบทเมื่อพุทธศักราช 2448 รับฉายาว่า อุตฺตโม แตงไทยลูกนี้เดิมนางตุ้ย (แม่หม้าย) คนบ้านร่องถ่านซึ่งทำไร่ปลูกถั่ว
อ่านเพิ่มเติม

วัดบ้านห้วยขอน


ก่อนนั้นบ้านห้วยขอนเป็นเพียงหมู่บ้านป่าเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้นยังไม่มีวัดวาอารามดัง เช่นปัจจุบัน ชาวบ้านห้วยขอนแต่ก่อนนั้นถ้าหากจะทำบุญตักบาตรก็ต้องไปที่วัดหล่ายร้อง (วัดห้วยหม้ายเดิม) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2413
อ่านเพิ่มเติม

วัดห้วยหม้าย


วัดห้วยหม้าย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำยม มีคณะศรัทธาบ้านร่องถ่าน คณะศรัทธาบ้านห้วยหม้าย คณะศรัทธาบ้านป่าคาคณะศรัทธาบ้านห้วยหม้ายหล่ายห้วย และคณะศรัทธาบ้านป่าแดงใต้(บางส่วน)คณะศรัทธาบ้านห้วยกาญจน์(บางส่วน)
อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุแตงเขียว วัดห้วยหม้าย


พระธาตุแตงเขียว โดยประมาณปีพุทธศักราช 2466 - 2467 มีแม่หม้าชื่อว่านางจันทร์ คนบ้านร่องถ่านได้นำแตงไทยมาถวายหลวงพ่ออุตตะมา (เดิมชื่อกุย เป็นบุตรของพ่อหนานยะ นันทวงศ์ แม่ฟุ่น คนบ้านร่องถ่าน
อ่านเพิ่มเติม

วัดพระธาตุหนองจันทร์


วัดพระธาตุหนองจันทร์ จะมีใครเป็นผู้สร้างเป็นเจดีย์ครั้งแรกไม่มีบ่งไว้ในตำนานเป็นหลักฐานแน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานกันว่าบูรณะเสริมสร้างขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจเพราะมีฝีมือเงี้ยวปรากฏอยู่ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2445 ครูบาภิจัย (ภิชัย) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.สอง ได้บูรณะขึ้นซึ่งรูปเดิมมีปรากฏอยู่คล้ายจอมปลวกใหญ่ ๆ เท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม

แปรรูปหมู


หนังหมู  เป็นวัตถุดิบหลักและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทำแคบหมู แคบหมู จะอร่อย มีลักษณะหรือไม่ขึ้นอยู่กับหนังหมูฉะนั้นจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องเลือกหนังหมูที่เหมาะสมในการทำแคบหมูมากที่สุดและดีที่สุด
อ่านเพิ่มเติม

งานศพ


ชาวเขาเผ่าม้ง เชื่อว่าพิธีงานศพที่ครบถ้วนถูกต้อง จะส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติและควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้ านญาติ เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพรียงกัน
อ่านเพิ่มเติม

กินข้าวใหม่


การกินข้าวใหม่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นทวด ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่ ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่   ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่คนเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา ผีปู่ ผีย่า กับเจ้าที่ทุกตน
อ่านเพิ่มเติม

การละเล่นโยนลูกช่วง


ในวันปีใหม่ม้ง จะมีการละเล่นเพื่อฉลองวันปีใหม่ โดยเฉพาะ คือ การละเล่นโยนลูกช่วง หรือที่เรียกกันว่า "จุเป๊าะ" ลูกช่วงมีลักษณะกลมเหมือนลูกบอลทำด้วยผ้ามีขนาดพอที่จะกำด้วยมือข้างเดียวได้
อ่านเพิ่มเติม

การแต่งกายชนเผ่าม้ง


การแต่งกายของชนเผ่าม้ง มีการแต่งกายที่แตกต่างกันระหว่างม้งขาว และม้งเขียวหรือม้งลาย  บ้านแม่แรม หมู่ที่ 12 ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง (ม้งลาย) 
อ่านเพิ่มเติม

ปีใหม่ม้งแม่แรม


ประเพณีปีใหม่ม้ง เป็นงานรื่นเริงของชาวม้งทุกๆปี ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวันและเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้านซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม หรือ มกราคม ของทุกปี ประเพณีปีใหม่ม้งชาวม้งเรียกกันว่า "น่อเป๊โจ่วฮ์" แปลตรงตัวได้ว่า "กินสามสิบ"
อ่านเพิ่มเติม

แคนน้ำเต้า


แคน ภาษาม้ง อ่านว่า "เฆ่ง"  แปลว่าแคน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม่ไผ่ และไม้เนื้อแข็ง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยลำไม้ไผ่ทะลุปล้อง 6 อัน
อ่านเพิ่มเติม

แกงแคไก่บ้าน


แกงแค เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก
อ่านเพิ่มเติม

วัดบ้านแดนชุมพล


เมื่อ พ.ศ.2495 บ้านจำฮั่ง บ้านโทกค่า บ้านเด่นนางฟ้อน 3 หมู่บ้านนี้ ทำบุญที่เดียวกัน ต้องใช้ศาลาที่โรงเรียนแดนชุมพล เป็นสถานที่ทำบุญ โดยไปนิมนต์พระครูพุทธิมาศึกษากร เจ้าอาวาสวัดทุ่งน้าว มาทำบุญ เป็นเวลาอยู่ 2 ปี
อ่านเพิ่มเติม

ประเพณีสงกรานต์


สงกรานต์ล้านนา หรือ "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ "วันสังขารล่อง" (13 เมษายน) หมายความว่า วันนี้สิ้นสุดศักราชเก่า ในวันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนจุดประทัดกันแต่เช้าตรู่ โดยการยิงปืนและการจุดประทัด มีความเชื่อถือกันแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม

ประเพณีสงเคราะห์


การส่งเคราะห์เกิดจากพื้นฐานความเชื่อว่า เหตุผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเคราะห์ร้าย จำเป็นต้องขจัดปัดเป่า ซึ่งหากกระทำแล้วจะทำให้ชีวิตกลับสู่ภาวะปกติ
อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดแพร่. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand