1. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ว่าอากาศจะหนาวเย็นแค่ไหน ก็สามารถออกกำลังกายได้เสมอ เพียงใส่ชุดให้อบอุ่นแล้วออกมาวิ่งจ๊อกกิ้ง แอโรบิค หรือจะโยคะก็ได้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งการออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายของคุณได้อีกด้วย
2. มือเท้าต้องมีความอบอุ่น
อากาศหนาว ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่นมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใส่เสื้อกันหนาวและกางเกงขายาว ที่สำคัญควรใส่ถุงมือและถุงเท้าเพื่อให้เกิดความอบอุ่นมากขึ้น เพราะมือและเท้านั้นเป็นแหล่งรวมเส้นประสาท หากปล่อยให้เย็นจนแข็งก็อาจทำให้ไม่ค่อยสบายได้
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เมื่อเข้าฤดูหนาว คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสบาย จึงควรป้องกันตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ครบ 5 หมู่ และเน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ เต้าหู้ ไข่ และธัญพืชเพราะธาตุเหล็กจะช่วยป้องกันโรคหวัดและเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้
4. รับประทานวิตามิน
สำหรับผู้ที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงเมื่อเจอกับอากาศหนาว อาจจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ จึงควรป้องกันด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์พร้อมๆไปกับการรับประทานวิตามิน เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี เพราะวิตามินเหล่านี้สามารถช่วยให้ห่างไกลจากการเป็นหวัดได้
5. ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัด
เนื่องจากการอาบน้ำอุ่นจัดจะทำให้ความชุ่มชื้นของผิวหายไป และควรหลีกเลี่ยงสบู่ที่มีฟองมาก ๆ เพราะจะดึงความชุ่มชื้นออกไปจากผิว ไม่ควรเช็ดถูผิวแรง ๆ อาจทำให้ผิวลอกมากขึ้น ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องสระผมบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้หนังศีรษะแห้งเกินไปจนเกิดรังแคได้
6. บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
การทาโลชั่นบำรุงผิวหลังอาบน้ำขณะที่ตัวยังหมาด ๆ จะช่วยป้องกันผิวไม่ให้แห้ง แตก ลอก ในฤดูหนาวได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญควรทาให้ทั่วร่างกาย เพราะถ้าทาไม่ทั่วอาจทำให้ผิวแห้งลอกเฉพาะจุดได้ และควรทาลิปบาล์มที่ปากด้วย จะช่วยทำให้ปากชุ่มชื้นไปได้ตลอดทั้งวัน
7. ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
ก่อนนอนควรจะดื่มน้ำอุ่น ๆหรือนมอุ่นๆ จะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นได้มาก และยังจะช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย
อย่าลืม 7 ข้อทำได้ไม่ยาก ถ้าอยากมีสุขภาพดี ซึ่งเพียงแค่ปฏิบัติตามทั้ง 7 ข้อดีเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง คุณก็จะมีสุขภาพกายและใจที่ดีตลอดฤดูหนาวนี้แน่นอน
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HonestDocs พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7
Post a Comment